วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

ใบงานที่ 8

การแบ่ง partition

สำหรับผู้ที่เคยใช้ PC มาก่อน คงคุ้นเคยกับคำ ๆ นี้ดี การแบ่ง partition คือการแบ่งพื้นที่การใช้งานบน hard disk ของเราให้เป็นสัดส่วน เพื่อให้ง่ายต่อการจัดเก็บ และบริหารไฟล์ .. บน OS X ก็เช่นเดียวกัน
โปรแกรมที่จะใช้ในการแบ่ง partition ของเรานั้น คือ Disk Utility (อยู่ใน Applications/ Utilities)
disk-utility-icon.jpg
โดยหลักแล้ว การแบ่ง partition ผมขอแบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆเพื่อให้กระชับได้ใจความ ดังนี้

- การแบ่ง partition บน external hard drive ( hard disk ภายนอก ซึ่งเราซื้อแยกมาต่างหาก)
- การแบ่ง partition บน Macintosh HD หรือว่า hard disk ที่เรามีอยู่แล้วในเครื่อง (โดยที่ข้อมูลเดิมยังอยู่ครบไม่ต้อง Format หรือว่าล้างข้อมูลกันใหม่)


การจัดแบ่งพาร์ติชันของฮาร์ดดิสก์ โดยไม่ต้องใช้โปรแกรมช่วย (Windows XP) การแบ่ง Partition ด้วย โปรแกรมใน Windows XP

           หลายๆ ท่านคงอาจจะรู้แล้วนะว่า window xp มีเครื่องมือแบบนี้มาให้ แต่ว่าลูกเล่นคงไม่มากเท่าตัวโปรแกรมแบบที่ใช้แบ่งพาติชั่นโดยตรงหรอก แต่มันสามารถใช้แบ่งพาติชั่นแบบธรรมดาปกติได้ สำหรับคนที่ยังไม่รู้ เรามาดูกันเลยดีกว่า ว่าทำอย่างไร

            การแบ่งหรือลบพาติชั่นมีหลายวิธี บางคนอาจใช้วิธี Fdisk บางคนอาจใช้โปรแกรมยอดนิยมอย่าง Patition Magic

             เท่าที่เคยใช้มา Fdisk เป็นวิธีที่เข้าท่ามากที่สุดแต่น่ารำคาญเพราะมันช้ามาก สำหรับ HDD แบบ ATA มีข้อเสียอีกตรงที่ว่า ทำได้แค่ FAT32 เท่านั้น

อาจมีวิธีอื่นทำ NTFS ได้ ถ้าไม่ชำนาญจริงๆอย่าทำเลยเสียเวลานานสุดๆ

          ต่อมาโปรแกรมยอดนิยมอย่าง Patition Magic ใช้ง่ายดีใช้กับ Window XP ได้ แต่ใช้กับ Window ME ไม่ได้น่ะมีปัญหาเพราะบางทีเราแบ่งไว้ซะดิบดีกลับลง Window MEไม่ได้
พอเข้าไป Fdisk ใน dos ดูกลับกลายเป็นว่ายังไม่ได้แบ่งไรเลย ไมเป็นงั้นไปได้หว่าไม่รู้เหมือนกัน ใน Window ยังเห็นนี่หว่างง?

           และอีกวิธีหนึ่งคือที่จะนำเผยแผ่นี่แหละ ไม่ต้องไปหาโปรแกรมที่ใหนมาลงให้วุ่นวายเท่าที่ลองมา เห็นทั้งใน dos และใน Window แน่นอน และที่สำคัญใช้ง่ายเหมือน Patition Magic เลย แต่อย่ากดซี้ซั้วล่ะเดี๋ยวหาว่าไม่เตือน

ตัวทดลองคือ HDD ยี่ห้อ WESTERN ขนาด 850 MB เก็บได้ในห้องเก็บของ ร.ร เสียงดังแกร็กๆๆ
และคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องที่ลง Window XP / 2003

1.ขั้นตอนแรกให้ต่อ HDD เข้ากับเครื่องให้มองเห็นซะก่อน

2.เข้าไปที่ Start>Control Panal>Administrative Tools>Computer Management

3.จะปรากฎหน้าต่าง Computer Management ขึ้นมาแล้วกดตรงคำว่า Disk Management ตรงกรอบด้านซ้ายมือ

จะเห็นอุปกรณ์ที่ต่อกับช่อง IDE ทั้งหมด และแน่นอนเห็น HDD WESTERN ขนาด 850 MB ที่ต่ออยู่ด้วย


ถ้าเป็นแถบสีน้ำเงินแสดงว่ามันแบ่งพาติชันไว้เรียบร้อยแล้ว

4.ให้ คลิกขวา Delete Partition... ตอบ Yes จะกลายเป็นแถบสีดำและมีคำว่า Unallocated หมายความว่าหายหมดแล้ว จบขั้นตอนการลบง่ายๆเพียงไม่กี่คลิก

ต่อไปนี้จะเป็นการสร้าง Patition กันล่ะ ให้คลิกขวา Newpatition...


กด Next สั้นๆได้ใจความ


เลือก Primary partition (ปกติก้อเลือกอันนี้แหละ คำอธิบายมีให้อยู่แล้วอ่านเอาเองนะ) >แล้วกด Next

            กรอกขนาดสำหรับสร้างพาติชั่นแรกของ HDD ตัวนี้ ใส่ขนาดเป็น MBในที่นี้จะสาธิตใส่แค่ 100MB จากขนาดเต็ม 812 MB
ของท่านอาจจะมากกว่านี้ แล้วกด Next

1GB = 1024MB นะหลายคนอาจคิดว่า 1GB = 1000MB

             ตรงช่อง Assign the following drive letter สามารถเลือกได้ว่าจะเป็นไดร์อะไร แนะนำไม่ต้องเลือกอะไรปล่อยไว้ตามเดิม แล้วกด Next  

Do not format this partition = ไม่ต้องFormatเมื่อสร้าง patition แล้ว
Format this patition with the follow settings: = Format เลยเมื่อสร้าง patition แล้ว

สำหรับช่อง File system: จะมีให้เลือก3แบบคือ NTFS,FAT32 และ FAT

NTFS=ใช้เฉพาะ Windows XP/2003 ขึ้นไป เป็นระบบประสิทธิภาพสูง (แนะนำ)

FAT32=ใช้ ตั้งแต่ Windows 98/ME ลงมาใช้ NTFS ไม่ได้เพราะ Windows 98/ME มันจะมองไม่เห็นระบบนี้มีปัญหาอยู่อย่างนึง

        คือไฟล์ที่ใหญ่เกิน4GBขึ้นไปจะมองเห็นเป็น 3.99GB หมดเลย FAT= ไม่ต้องไปสนใจมันเขาเลิกใช้ไปนานแล้ว ระบบนี้คงจะเจอใน FDD หรือ Flash Drive บางยี่ห้อ สำหรับใน HDD ไม่แนะนำให้ใช้

สำหรับช่อง Allocation unit size ไม่ต้องสนใจให้ใส่ Default

สำหรับช่อง Volume label = ชื่อไดร์ของคุณใส่อะไรก้อได้ หรือไม่ต้องใส่ก้อได้มันจะตั้งชื่อให้ว่าLocal Disk เสมอ

Perform a quick format = ถ้าขี้เกียจรอให้ติ๊กถูกมัน(แนะนำ) จะทำการ format แบบเร็ว

>แล้วกด Next>Finish แล้วรอสักแปปเพื่อรอมัน format เสร็จ
จะได้พาร์ติชันขนาดตามที่กำหนด  

การ Format คือ ?? 

        กระบวนการ format ก็คือกระบวนการจัดรูปแบบของสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ เช่น แผ่นดิสก์เก็ต ฮาร์ดดิสก์ ให้มีคุณสมบัติเหมาะสมกับระบบฮาร์ดแวร์ที่ใช้ (หมายถึง ชนิด ขนาด ความจุ ของ Drive ที่เป็นตัวอ่าน-เขียน) เพื่อให้สื่อเหล่านั้นสามารถ อ่าน-เขียนข้อมูลได้ถูกต้อง หรืออีกนัยหนึ่ง คือ กระบวนการในการจัด เตรียมพื้นที่ในการเก็บข้อมูลบนแผ่นดิสก์เก็ต หรือ ฮาร์ดดิสก์ นั่นเอง
                การลบข้อมูลทุกอย่างในคอมพิวเตอร์ครับ เป็นกาลลบให้หมดโดยสิ้นเชิงไม่เหลือแม้แต่ระบบปฏิบัติการ(Windows) หลังการformatจึงจำเป็นต้องติดตั้งWindowsใหม่รวมถึงdriverต่างๆและโปรแกรม ทั้งหมดใหม่ 
                 ถ้าเป็นการ format ที่หมายถึงการ format Drive ของฮาร์ดดิสก์   คือเมื่อเราซื้อฮาร์ดดิสก์ มาใหม่ๆ
แล้วก่อนจะทำการติดตั้งระบบ windows  เราต้องทำการ แบ่ง Parttition และสร้างระบบของไดร์ฟ ต่อไปก็
ทำการ format อีกครั้ง.. จึงจะติดตั้งระบบปฏิบัติการฯ ลงไดร์ฟได้..
 
    และเมื่อคอมพ์เกิดมีปัญหามาก จนเราเอาไม่อยู่แล้ว  ก็อาจจำเป็นต้องทำการ format (คือล้างเครื่องล้างข้อมูลทุกสิ่งในไดร์ฟออกหมด) แล้วทำการติดตั้ง windows ใหม่...ค่ะ
    ซึ่งวิธีที่ดีคือ ควรแบ่งฮาร์ดดิสก์ เป็น 2 ไดร์ฟ เมื่อเวลาจะ format
จะได้ย้ายข้อมูลไปไว้อีกไดร์ฟนึง..  ก่อน แล้ว format เฉพาะไดร์ฟ c
ข้อมูลในเครื่องฯ ก็จะไม่สูญหายไปด้วยค่ะ





การ Format ทำอย่างไร ??

1. การ Format ก็คือการลบข้อมูลทั้งหมดใน Partition นั้น ๆ ข้อมูลจะหายไปทั้งหมด แต่ในความเป็นจริงแล้วข้อมุลยังอยู่ เพราะคอมพิวเตอร์แค่ไป mark ไว้เท่านั้นว่าข้อมูลตรงนี้เป็นข้อมูลว่างสามารถใช้งานได้ ทำให้แม้ว่าจะ Format ข้อมูลใน Hard Disk ไปแล้ว ก็ยังมีมือดี (ดีจริงเหรอ) กู้ข้อมูลกลับคืนมาได้
2. จะ Format กี่ครั้งก็ได้ แต่ตามปกติแล้ว จะ Format ก็ต่อเมื่อต้องการติดตั้ง OS ใหม่เป็นเหตุผลหลัก
3. ขั้นตอนการ Format สามารถทำได้ 2 วิธี
   3.1 แบบ Command Prompt มีขั้นตอนดังนี้
         - คลิกที่ Start >> run >> พิมพ์ cmd
         - พิมพ์ format และชื่อ drive เช่น format d:
    3.2 แบบ GUI  มีขั้นตอนดังนี้
         - เปิด My Computer
         - คลิกที่ Drive ที่ต้องการ Format
         - คลิกขวาแล้วเลือก Format
         - เลือกประเภทของ File System ที่ต้องการว่าจะใช้ Fat, Fat32 หรือ NTFS
         - คลิกที่ Start เพื่อเริ่ม Format

หมาย เหตุ : กรณีต้องการ Format Drive ที่มี OS เช่น Drive C ควร Format ด้วยแผ่นติดตั้ง Windows จะดีที่สุด >> ตอนลง Windows ที่หน้าจอเลือก Partition เครื่องจะถามเราว่าจะ Format หรือไม่ ก็ให้ Format ไป

ก่อน Format ทุกครั้งอย่าลืม Backup ข้อมูลไว้ด้วยนะครับ ไม่อย่างนั้นคุณอาจต้องเสียเวลา หลายสิบชั่วโมงเพื่อกู้ข้อมูลคืนครับ

วันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 7

เรื่อง tips&trick การแก้ปัญหาคอมพิวเตอร์

เกี่ยวกับ Hardware ขอเสนอเกี่ยวกับการแก้ปัญหาของจอ Monitor เมื่อ..

หัวข้อ     : อาการจอมืด พัดลมตัวจ่ายไฟหมุนเป็นปกติ และไฟหน้าปัด (Power LED)ก็ยังสว่างดีจะทำอย่างไร
เนื้อหา    : ถ้ามีเสียงบี๊ปสั้นๆ หนึ่งครั้ง (1S) ก็แสดงว่าเครื่องเป็นปกติดีครับ แต่ถ้ามีเสียงบี๊ปสั้นๆ
สามครั้ง (3S) อาจจะมีปัญหาที่การ์ดจอครับ และบางเครื่องอาจจะมีเสียงบี๊ป สั้นหนึ่ง ยาวหนึ่ง
และมีเสียงสั้นอีกหนึ่ง (1S-1L-1S)
วิธีแก้ไข
1.  ให้คุณลองถอดการ์ดจอออกใส่แล้วใส่ใหม่ดูครับ ถ้ายังไม่หายอีกต้องมาลองทำในขั้นตอน
ที่สองดูครับ
2.  คุณต้องใช้ยางลบดินสอเท่านั้นนะครับ ถูบริเวณที่เป็นทองแดงเชื่อมต่อ (อินเตอร์เฟซ)
ต่อจากนั้นก็ใช้ผ้านิ่มๆเช็ดทองแดงอีกครั้งครับ แล้วก็ใส่กลับที่สล็อตครับ
3.  ถ้าอาการดังกล่าวยังไม่หาย ก็มาลองทำวิธีการที่สามดูครับ ให้คุณลองเปลี่ยนสล็อตที่ใส่
ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นก็แสดงว่าการ์ดจออาจจะเสียก็ได้ครับ ต้องซื้อการ์ดจอมาเปลี่ยนแล้วล่ะครับ

เกี่ยวกับ Software ขอเสนอเกี่ยวกับการแก้ปัญหาของ Window เมื่อ..


หัวข้อ :หน้าจอมีข้อความว่า Press a key to continue จะมีทางแก้ไขอย่างไร
เนื้อหา : สิ่งที่เกิดขึ้นนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อไฟลิของ Windows System ได้ถูกเปลี่ยนชื่อหรือถูกลบครับ คุณก็ไม่สามารถที่จะทราบได้ว่าไฟล์ Windows System นี้ มันได้ถูกเปลี่ยนชื่ออะไร และทำให้คุณไม่สามารถที่ จะ rename ให้มันกลับมาเป็นชื่อเดิมได้อีก ดังนั้นก็มีเพียงวิธีเดียวเท่านั้นก็คือ คุณต้องทำการ reinstall เท่านั้นครับ ที่คุณต้องทำอย่างนี้ก็เพราะว่าไฟล์ของ Windows system มีไว้เพื่อใช้ในการสั่งไฟล์ System เพื่อที่จะตรวจสอบระบบนั่นเอง เมื่อไฟล์ Windows System มีปัญหาก็ไม่สามารถที่จะตรวจสอบระบบได้ ก็เป็นปัญหาที่ทำให้ไม่สามารถที่จะบูตเข้าระบบปฏิบัติการได้ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 5

 
ความเป็นมาของ ซีดีรอม
ซีดีรอม (CD-ROM : Compact Disc-Read Only Memory )มีจุดเริ่มต้นในปี 1978 เมื่อบริษัทฟิลิปส์ (Philips) และโซนี่ (Sony)ได้ร่วมมือกันที่จะผลิตคอมแพคดิสก์สำหรับบันทึกเสียง (CD) ซึ่งในขณะนั้นฟิลิปป์ได้พัฒนาเครื่องเล่นเลเซอร์ดิสก์ออกวางจำหน่ายแล้ว และขณะเดียวกันโซนี่ก็ได้ทำการวิจัยการบันทึกเสียงแบบดิจิทัลมานานนับสิบปี ในตอนแรกต่างฝ่ายต่างจะกำหนดมาตรฐานคอมแพคดิสก์ที่จะออกวางจำหน่าย แต่ท้ายที่สุดทั้งสองบริษัทก็ได้ตกลงที่จะกำหนดมาตรฐานร่วมกัน โดยในปี 1982 ทั้งสองบริษัทได้กำหนดมาตรฐานของซีดีรวมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับการบันทึกเสียง วิธีการอ่านซีดีและขนาดของซีดี โดยกำหนดเป็น 5 นิ้ว ซึ่งกล่าวกันว่าการที่กำหนดขนาดของแผ่นดิสก์เป็น 5 นิ้วนั้นก็เพราะว่าแผ่นดิสก์ขนาดนี้สามารถบรรจุซิมโฟนี่หมายเลข 9 ของบีโธเฟนได้ ทั้งสองบริษัทยังคงร่วมมือกันตลอดทศวรรษ 1970 ได้มีการกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมในการใช้เทคโนโลยีของซีดี กับข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำให้มีการพัฒนาวีดีรอมที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน
อุปกรณ์ที่ใช้ในการอ่านแผ่นซีดีรอม ก็คือ เครื่องอ่านซีดีรอม (CD-ROM DRIVES) ซึ่งในปัจจุบันเป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่เครื่องคอมพิวเตอร์ต้องมี ในอดีตนั้นซีดีรอมใช้เพื่อเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งการบันทึกไว้ในแผ่นฟลอปปี้ดิสก์จะต้องใช้ฟลอปปี้ดิสก์เป็นจำนวนมาก ซีดีรอมจึงเป็นที่นิยมในการเป็นสื่อบันทึกข้อมูล ปัจจุบันเครื่องอ่านซีดีรอมได้เปลี่ยนแปลงจุดประสงค์ในการใช้จากเดิมเพื่อใช้งานบันทึกข้อมูลเป็นส่วนใหญ่ กลายมาเป็นเพื่อความบันเทิงในการดูหนังฟังเพลง เครื่องอ่านซีดีรอมในปัจจุบันมีราคาถูกลงอย่างมาก มันจึงกลายเป็นอุปกรณ์และกลายเป็นสื่อที่ผู้ผลิตอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ใช้ในการบันทึกข้อมูล และซอฟต์แวร์ต่างๆเพื่อจำหน่ายและแจกจ่ายให้กับลูกค้าของตนเนื่องจากความจุที่มากกว่าและราคาที่ถูกกว่า

 การทำงานของเครื่องซีดีรอม
 

เครื่องซีดีรอมมีส่วนประกอบภายในที่ทำหน้าที่ดังนี้
1. ตัวกำเนิดเลเซอร์ เป็นแหล่งกำเนิดความเข้มต่ำและส่งไปยังกระจกสะท้อนเลเซอร์
2. เซอร์โวมอเตอร์ ทำหน้าที่ปรับให้เลเซอร์ตกลงแทร็กที่ต้องการด้วยการรับคำสั่งจากไมโครโปรเซสเซอร์ และมีหน้าที่ปรับมุมของกระจกสะท้อนเลเซอร์ด้วย
3. เมื่อเลเซอร์กระทบดิสก์ จะมีการหักเหไปยังเลนส์ที่อยู่ด้านใต้ของดิสก์จากนั้นสะท้อนไปยังเครื่องแยกลำแสง
4. เครื่องแยกแสงจะส่งเลเซอร์ไปยังอีกเลนส์หนึ่ง
5. เลนส์อันสุดท้ายจะส่งเลเซอร์ไปยังเครื่องตรวจจับแสงที่เปลี่ยนคลื่นแสงเป็นสัญญาณไฟฟ้า
6. ไมโครโปรเซสเซอร์จะแผลงสัญญาณที่ได้รับและส่งเป็นข้อมูลไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์



ส่วนประกอบต่างๆของ Rom Drive : Cd Rom , Dvd Rom

            ปัจจุบัน CDROM DRIVE เป็นอุปกรณ์ที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง
ต้องมีเนื่องจากปัจจุบัน Software มีขนาดใหญ่มากไม่สามารถบรรจุ ลงบนแผ่น Floppy Disk ได้อีกต่อไป เทคโนลียีของ CDROM มี อยู่ 2 แบบ คือ
    - การหมุนด้วยความ เร็วคงที่
    - การหมุนด้วยความเร็ว ไม่คงที่
    ซึ่งแบบแรกจะทำให้ออกแบบCDROM ได้ง่ายแต่ความเร็ว ในการเข้าถึงข้อมูลจะไม่คงที่ดังนั้น CDROM ที่ ใช้ระบบนี้จะระบุค่า ความเร็วที่ความเร็วสูงสุดที่ทำได้แทนความเร็ว เฉลี่ยจริงเช่น 50Xmax เป็นต้น ส่วนแบบหลังจะให้ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล แบบคงที่ ตลอดแต่การออกแบบ CDROM ทำได้ยากกว่าทำให้ ไม่เป็นที่นิยมในการออกแบบ และในปัจจุบันนี้บริษัท Kenwood ได้ทำการเสนอเทคโนโลยี TrueX ซึ่งใช้แสง Laser 7 เส้น ในการ อ่านข้อมูลจากแผ่น CDROM ทำให้เวลาในการเข้าถึงข้อมูลดีขึ้นจน ความเร็วสูงสุดกับความเร็วเฉลี่ยใกล้เคียงกัน และประกอบกับปัจจุบัน DVDROM DRIVE ได้รับความนิยมอย่างมากเนื่องจากการที่ สามารถเก็บข้อมูลปริมาณมาก ๆ ได้โดยสามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่า แผ่น CDROM ประมาณ 12 เท่า อีกทั้งราคาที่ถูกลงอย่างมากทำ ให้เป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่งที่น่าสน ใจ และ CD-RW ซึ่งเป็นเครื่องเขียน CDROM ก็มีราคาที่ถูกลงอย่างมากด้วย คาดว่าอีกไม่นาน DVDROM DRIVE และ CD-RW DRIVE จะเข้ามาแทนที่ ตำแหน่ง CDROM DRIVE เดิม


  1. CD-Rom Drive                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                     คือ drive สำหรับอ่านแผ่น CD, VCD หรือ CD เพลงทั่วไป แต่สามารถอ่านได้อย่างเดียว เขียนข้อมูลทับลง CD ไม่ได้ ปัจจุบันมีราคาถูกว่า และถือว่าเป็นอุปกรณ์มาตราฐานสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่ว ๆ ไป

  1. แผ่น CD-RW (Rewriteable CD)
แผ่น CD ที่สามารถบันทึกซ้ำได้ คล้ายกับ harddisk หรือแผ่นดิสก์ทั่ว ๆ ไป ราคาจะแพงกว่าแผ่น CD-R หลายเท่า ข้อสังเกตว่าแผ่นไหนเป็น CD-RW ให้ดูคำว่า CD-RW บนแผ่น CD สำหรับการบันทึกของแผ่น CD-RW จะเป็นไปในลักษณะที่เรียกว่า multi-sessions เทคโนโลยีของ CD-RW นั้นจะแตกต่างจาก CD-R เนื่องจากต้องมีการบันทึกซ้ำ โดยสารเคมีที่เคลือบบนแผ่น CD-RW นั้นจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อได้รับความร้อนถึงจุด ๆ หนึ่ง

  1. DVD-ROM

    คือฟอร์แมตมาตรฐานที่ใช้กันใน ฮอลลีวูด” (Hollywood) หรือในวงการภาพยนตร์ เพื่อการบันทึกข้อมูลภาพ ทั้งภาพเคลื่อนไหวและภาพนิ่ง รวมถึงข้อมูลเสียง มีคุณภาพสูงกว่าฟอร์แมต CD และมีความจุสูงสุดประมาณ 17 กิกะไบต์  แต่ที่พิเศษกว่าคือ สามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ได้ด้วย เพื่อการบันทึกข้อมูลประเภทดาต้าอื่นๆ   ทั้งนี้ DVD-ROM เป็นได้ทั้งชั้นเดียวหรือสองชั้น มีความจุประมาณ DVD-R หรือ DVD+R DL DVD-ROM
คืออุปกรณ์ Optical Drive สำหรับอ่านข้อมูล ส่วนใหญ่จะใช้ในคอมพิวเตอร์ สามรถอ่านได้ทั้งแผ่น CD-R และ DVD ปัจจุบัน
(พ.ย.2009) มาตรฐานความเร็วมาหยุดอยู่ที่ 24X แต่ความเร็วที่ 24X นี้ ถือเป็นความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล ที่เร็วมาก รายละเอียดความเร็วดูที่ Combo Drive
สำหรับ DVD Drive ก็รองรับการอ่าน Disc ขนาดมาตรฐานเช่นเดียวกับ CD-ROM ที่มีขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง 8 และ 12 เซนติเมตร

  1. DVD-RW

ก็คือ DVD-R ในรูปแบบที่สามารถบันทึกซ้ำได้นั่นเอง โดยแผ่น DVD-RW จะต้องใช้กับเครื่องบันทึกแผ่น DVD-RW เท่านั้นจึงจะสามารถบันทึกได้ แต่ในขณะเดียวกันเครื่องบันทึกแผ่น DVD-RW จะสามารถบันทึกแผ่น DVD-R, CD-R และ CD-RW ได้ด้วย และทำนองเดียวกันแผ่น DVD-R, DVD-RW ก็ยังสามารถเล่นได้กับเครื่องเล่น DVD ในรุ่นใหม่ ๆได้อย่างไม่มีปัญหาแต่กับรุ่นเก่า ๆ ยังไม่สามารถใช้กันได้

หากจำ เป็นต้องบันทึกข้อมูลอีกครั้งในแผ่น DVD-RW นั้น ผู้ใช้จะต้องฟอร์แมทแผ่น DVD-RW ดังกล่าวก่อนที่จะมีการบันทึกซ้ำ ซึ่งจะทำให้ข้อมูลเดิมที่อยู่ในแผ่นนั้นหายไปด้วย



- DVD-RW = DVD ที่สามารถบันทึกซ้ำ และลบข้อมูลเดิม ๆ ออกได้ ทำได้หลาย ๆ ครั้ง จนกว่าแผ่นจะพัง
- DVD-R = DVD ที่สามารถบันทึกได้ครั้งเดียว ลบไม่ได้ เขียนแล้วเขียนเลย ทำได้ครั้งเดียว
- DVD+R = DVD ที่สามารถบันทึกเพิ่ม ได้หลาย ๆ ครั้งจนกว่าข้อมูลจะเต็มแผ่น แต่ไม่สามารถลบข้อมูลก่อนหน้าที่เขียนไปแล้วได้

5.       Blu-Ray
Blu-ray หรือ Blu-ray Disc (BD) เป็นชื่อของเทคโนโลยีมาตรฐานใหม่สำหรับออฟติคอลดิสก์ ที่ถูกผลักดันให้มาแทนมาตรฐาน DVD ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน โดย Blu-ray นั้นถูกพัฒนาขึ้นมาให้สามารถบันทึกข้อมูลวิดีโอรายละเอียดสูง high-definition video (HD) หรือใช้เก็บไฟล์ข้อมูลได้มากกว่า DVD หลายเท่าตัว ซึ่ง Blu-ray แบบ single-layer นั้นจะมีเนื้อที่เก็บข้อมูล 25GB ส่วนแบบ double-layer นั้น จะเก็บข้อมูลได้สูงถึง 50GB เลยทีเดียว
โดยจะช่วยให้ภาพยนตร์ต่างๆที่ถูกบันทึกลงแผ่นดิสก์ Blu-ray นั้นมีรายละเอียดต่างๆทั้งด้านภาพ และเสียงสูงกว่า DVD ขึ้นไปอีก ส่วนที่มาของชื่อ Blu-ray นั้นจะมาจากการที่ใช้แสงเลเซอร์สีน้ำเงิน-ม่วงในการอ่านและเขียนแผ่นดิสก์ แทนการใช้แสงเลเซอร์สีแดงเหมือนกับ DVD ซึ่งแสงเลเซอร์สีน้ำเงิน-ม่วงนั้นจะมีความยาวของคลื่น 405nm ที่สั้นกว่าแสงเลเซอร์สีแดง ที่มีความยาวคลื่น 650nm ทำให้สามารถบันทึกข้อมูลลงไปในแผ่นดิสก์ได้มากขึ้นในเนื้อที่เท่าเดิม โดยว่ากันคร่าวๆแล้ว Blu-ray จะสามารถเก็บวิดีโอความละเอียดสูงได้นานถึง 9ชั่วโมงในแผ่นดิสก์แบบ double-layer และสามารถเก็บไฟล์วิดีโอที่บีบอัดตามมาตรฐานที่ใช้ใน DVD ปัจจุบันนี้ได้นานต่อเนื่องถึง 23ชั่วโมงเลยทีเดียว รวมถึงบันทึกความละเอียดสูงด้วยมาตรฐานใหม่ๆได้ด้วย
ใครเป็นผู้พัฒนามาตรฐาน Blu-ray?
Blu-ray เป็นเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาโดย Blu-ray Disc Association (BDA) กลุ่มสมาคมที่เป็นการรวมตัวระหว่างบริษัทผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า, บริษัทด้านไอทีรายยักษ์ รวมถึงสตูดิโอภาพยนตร์ และบริษัทในวงการอื่นๆ เช่น Apple Computer, Inc., Dell Inc., Hewlett Packard Company, Hitachi, Ltd., LG Electronics Inc., Matsushita Electric Industrial Co., Ltd., Mitsubishi Electric Corporation, Pioneer Corporation, Royal Philips Electronics, Samsung Electronics Co., Ltd., Sharp Corporation, Sony Corporation, TDK Corporation, Thomson Multimedia, Twentieth Century Fox, Walt Disney Pictures, Warner Bros. Entertainment ซึ่งแน่นอนบริษัทเหล่านี้จะร่วมกันผลักดันมาตรฐาน Blu-ray ให้เป็นที่ยอมรับในตลาดแน่ๆเพื่อที่จะผลิตสินค้าที่ใช้เทคโนโลยี Blu-ray ออกมาจำหน่าย เช่น Sony ก็จะนำ Blu-ray ไปใช้กับเครื่องเล่นเกม PlayStation 3 ที่จะส่งออกจำหน่ายในเร็วๆนี้
นี่เป็นข้อมูลคร่าวๆสำหรับ Blu-ray แต่แน่นอน Blu-ray ไม่ใช่เป็นตัวเลือกของมาตรฐานใหม่ที่จะมาแทน DVD ในขณะนี้แน่ๆ มาตรฐานอีกมาตรฐานที่มีการส่งเข้าต่อสู้ในตลาดนั้นจะเป็น HD-DVD ที่พัฒนาโดย Toshiba และ NEC ซึ่งจะมีข้อดีกว่าตรงที่อุปกรณ์ต่างๆนั้นจะมีต้นทุนที่ต่ำกว่า Blu-ray แต่ก็จะมีความจุข้อมูลที่น้อยกว่าเช่นกัน เนื่องจากยังใช้เทคโนโลยีแสงเลเซอร์สีแดงในการอ่าน และเขียนข้อมูลอยู่ ก็คงต้องรอดูกันสักพักว่าเทคโนโลยีของค่ายไหนที่จะมาแรงกว่ากัน และขึ้นแท่นแทน DVD ได้ในที่สุด



ใบงานที่ 4



Hard Disk
(ฮาร์ดดิสก์)

Hard Disk   คือ  อุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลได้มาก  สามารถเก็บได้อย่างถาวรโดยไม่จำเป็นต้องมีไฟฟ้ามาหล่อเลี้ยงตลอดเวลา  เมื่อปิดเครื่องข้อมูลก็จะไม่สูญหาย ดังนั้น  Hard Disk  จึงถูกจัดเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บระบบปฏิบัติการ  โปรแกรม  และข้อมูลต่าง   เนื่องจาก  Hard Disk  เป็นอุปกรณ์ที่ง่ายต่อการอัพเกรดทำให้เทคโนโลยี  Hard Disk  ในปัจจุบันได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นการเลือกซื้อ  Hard Disk   จึงควรคำนึงซึ่งประสิทธิภาพที่จะได้รับจาก  Hard Disk

 ส่วนประกอบของ Hard Disk 

1. แขนของหัวอ่าน ( Actuator Arm )

ทำงานร่วมกับ Stepping Motor ใน การหมุนแขนของหัวอ่านไปยังตำแหน่งที่เหมาะสม สำหรับการอ่านเขียนข้อมูล โดยมีคอนโทรลเลอร์ ทำหน้าที่แปลคำสั่งที่มาจากคอมพิวเตอร์ จากนั้นก็เลื่อนหัวอ่านไปยังตำแหน่งที่ต้องการ เพื่ออ่านหรือเขียนข้อมูล และใช้หัวอ่านในการอ่านข้อมูล ต่อมา Stepping Motor ได้ถูกแทนด้วย Voice Coil ที่สามารถทำงานได้เร็ว และแม่นยำกว่า Stepping Motor

2 . หัวอ่าน ( Head )

เป็นส่วนที่ใช้ในการอ่านเขียนข้อมูล ภายในหัวอ่านมีลักษณะเป็น ขดลวด โดยในการอ่านเขียนข้อมูลคอนโทรลเลอร์  จะ นำคำสั่งที่ได้รับมาแปลงเป็นแรงดันไฟฟ้าแล้วป้อนเข้าสู่ขดลวดทำให้เกิดการ เหนี่ยวนำทางแม่เหล็ก ไปเปลี่ยนโครงสร้างของสารแม่เหล็ก ที่ฉาบบนแผ่นดิสก์ จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลขึ้น

3. แผ่นจานแม่เหล็ก ( Platters )

มีลักษณะเป็นจานเหล็กกลมๆ ที่เคลือบสารแม่เหล็กวางซ้อนกันหลายๆชั้น (ขึ้นอยู่กับความจุ) และสารแม่เหล็กที่ว่าจะถูกเหนี่ยวนำให้มีสภาวะเป็น 0 และ1 เพื่อจัดเก็บข้อมูล โดยจานแม่เหล็กนี้จะติดกับมอเตอร์ ที่ทำหน้าที่หมุน แผ่นจานเหล็กนี้ ปกติ Hard Disk  แต่ละตัวจะมีแผ่นดิสก์ประมาณ 1-4 แผ่นแต่ละแผ่นก็จะเก็บข้อมูลได้ทั้ง 2 ด้าน

4. มอเตอร์หมุนจานแม่เหล็ก ( Spindle Moter )

เป็นมอเตอร์ที่ใช้หมุนของแผ่นแม่เหล็ก ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อความเร็วใน การหมุน ของ Hard Disk เพราะยิ่งมอเตอร์หมุนเร็วหัวอ่านก็จะเจอข้อมูลที่ต้องการเร็วขึ้น ซึ่งความเร็วที่ว่านี้จะวัดกันเป็นรอบต่อนาที ( Rovolution Per Minute หรือย่อว่า RPM ) ถ้าเป็น Hard Disk รุ่นเก่าจะหมุนด้วยความเร็วเพียง 3,600รอบต่อนาที ต่อมาพัฒนาเป็น 7,200รอบต่อนาที และปัจจุบันหมุนได้เร็วถึง 10,000รอบต่อนาที การพัฒนาให้ Hard Disk หมุนเร็วจะได้ประสิทธิภาพสูงขึ้น

5. เคส ( Case )

มีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยม ใช้บรรจุกลไกต่างๆ ภายในแผ่นดิสก์เพื่อป้องกันความเสียหาย ที่เกิดจากการหยิบ จับ และป้องกันฝุ่นละออง

 6. Head Arm and Actuator

เป็นส่วนประกอบที่ทำหน้าที่เคลื่อนย้ายหัวอ่านเข้าออกตามแนวตัดกับ Track ของ Platter อุปกรณ์ชุดนี้ ประกอบด้วย แม่เหล็กแรงสูง ขดลวดทองแดง และ ก้านอลูมิเนียมที่ปลายด้านหนึ่งติดตั้งหัวอ่านอยู่ ขณะที่ทำงาน Controller จะทำหน้าที่ควบคุมให้ Head Arm เลื่อนหัวอ่านไปยังตำแหน่งที่ต้องการ
 7. Logic Board

คือแผ่นวงจรอีเลคโทรนิคส์ ทำหน้าที่เป็นส่วนควบคุมการทำงานของ Harddisk ทั้งหมด และทำหน้าที่เป็นส่วนติดต่อกับ Mainboard ของคอมพิวเตอร์ ภายใน Logic Board มี Memmory อยู่จำนวนหนึ่งที่เรียกว่า Buffer Memory ใช้สำหรับเป็นที่พักข้อมูลที่โอนถ่ายระหว่า Harddisk และ Mainboard ส่วนของ Buffer Memmory นี้ ถ้ามีจำนวนมากจะช่วยให้การโอนถ่ายข้อมูลได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 ชนิดของ Hard Disk แบ่งตามการเชื่อมต่อ (Interface)

1. แบบ IDE (Integrate Drive Electronics)

Hard Disk แบบ IDE เป็นอินเทอร์เฟซรุ่นเก่า ที่มีการเชื่อมต่อโดยใช้สายแพขนาด 40 เส้น โดยสายแพ 1 เส้นสามารถที่จะต่อ Hard Disk  ได้ 2 ตัว บนเมนบอร์ดนั้นจะมีขั้วต่อ IDE อยู่ 2 ขั้วด้วยกัน ทำให้สามารถพ่วงต่อ Hard Disk ได้สูงสุด 4 ตัว ความเร็วสูงสุดในการถ่ายโอนข้อมูลอยู่ที่ 8.3 เมกะไบต์/ วินาที สำหรับขนาดความจุก็ยังน้อยอีกด้วย เพียงแค่ 504 MB
2. แบบ E-IDE (Enhanced Integrated Drive Electronics)

Hard Disk แบบ E-IDE พัฒนามาจากประเภท IDE ด้วยสายแพขนาด 80 เส้น ผ่านคอนเน็คเตอร์ 40 ขาเช่นเดียวกันกับ IDE ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพ ในการทำงานให้มากขึ้น โดย Hard Disk ที่ทำงานแบบ E-IDE นั้นจะมีขนาดความจุที่สูงกว่า 504 MB และความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลที่สูงขึ้น โดยสูงถึง 133 เมกะไบต์/ วินาที

วิธีการรับส่งข้อมูลของ Hard Disk แบบ E-IDE แบ่งออกเป็น 2 โหมด คือ  PIO และ DMA

โหมด PIO (Programmed Input Output) เป็นการรับส่งข้อมูลโดยผ่านการประมวลผลของซีพียู คือรับข้อมูลจาก Hard Disk เข้ามายังซีพียู หรือส่งข้อมูลจากซีพียูไปยัง Hard Disk การทำงานในโหมดนี้จะเน้นการทำงานกับซีพียู  ดังนั้นจึงไม่เหมาะกับงานที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลใน Hard Disk  บ่อยครั้งหรือการทำงานหลาย ๆ งานพร้อมกันในเวลาเดียวที่เรียกว่า Multitasking environment
โหมด DMA  (Direct Memory Access) จะอนุญาตให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ส่งผ่านข้อมูลหรือติดต่อไปยังหน่วยความจำหลัก (RAM) ได้โดยตรงโดยไม่ต้องติดต่อไปที่ซีพียูก่อนเหมือนกระบวนการทำงานปกติ ทำให้ซีพียูจัดการงานได้รวดเร็วขึ้น

3. แบบ SCSI (Small Computer System Interface)

Hard Disk แบบ SCSI เป็น Hard Disk ที่มีอินเทอร์เฟซที่แตกต่างจาก E-IDE โดย Hard Disk แบบ SCSI จะมีการ์ดสำหรับควบคุมการทำงาน โดยเฉพาะ เรียกว่า การ์ด SCSI สำหรับการ์ด SCSI นี้ สามารถที่จะควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ที่มีการทำงานแบบ SCSI ได้ถึง 7 ชิ้นอุปกรณ์ ผ่านสายแพรแบบ SCSI อัตราความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลของ แบบ SCSI มีความเร็วสูงสุด 320 เมกะไบต์/วินาที  กำลังรอบในการหมุนของจานดิสก์ปัจจุบันแบ่งเป็น 10,000 และ 15,000 รอบต่อนาที ซึ่งมีความเร็วที่มากกว่าประเภท E-IDE  ดังนั้น  Hard Disk แบบ SCSI จะนำมาใช้กับงานด้านเครือข่าย (Server) เท่านั้น

4. แบบ Serial ATA

                เป็นอินเทอร์เฟซที่กำลังได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เมื่อการเชื่อมต่อในลักษณะParallel ATA หรือ E-IDE เจอทางตันในเรื่องของความเร็วที่มีความเร็วเพียง 133 เมกะไบต์/วินาทีส่วนเทคโนโลยีเชื่อมต่อรูปแบบแบบใหม่ที่เรียกว่า Serial ATA ให้อัตราความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลขั้นแรกสูงสุดถึง 150 เมกะไบต์/วินาที โดยเทคโนโลยี Serial ATA นี้ถูกคาดหวังว่าจะสามารถ ขยายช่องสัญญาณ (Bandwidth) ในการส่งผ่านข้อมูลได้เพิ่มขึ้นถึง 2-3 เท่า และยังรองรับข้อมูลได้มากยิ่งขึ้น ไม่เฉพาะ Hard Disk เพียงเท่านั้นที่จะมีการเชื่อมต่อในรูปแบบนี้ แต่ยังรวมไปถึง อุปกรณ์ตัวอื่น ๆ อย่าง CD-RW หรือ DVD อีกด้วย
ด้วยการพัฒนาของ Serial ATA ทำให้ลดปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการส่งผ่านข้อมูลระหว่าง CPU ความเร็วสูงกับตัว Hard Disk  ลงได้  ในอนาคต Serial ATA ยังแตกต่างจาก Hard Drive ที่ใช้อินเทอร์เฟซ Parallel ATA ซึ่งเป็นแบบขนาน เพราะอินเทอร์เฟซ Serial ATA นี้ มีการกำหนดให้ Hard Drive ตัวไหนเป็น Master (ตัวหลัก) หรือ Slave (ตัวรอง) ผ่านช่องเชื่อมต่อบนเมนบอร์ดโดยตรง  สามารถลดความยุ่งยากในการติดตั้งลงไป อีกทั้ง Hard Disk ประเภทนี้บางตัวยังรองรับการถอดสับเปลี่ยนโดยทันที (Hot Swap) ทำให้การเชื่อมต่อในลักษณะนี้กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก

วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 2

1.1 คำศัพท์เฉพาะคอมพิวเตอร์ 
- abort
หมายถึง : การไม่ทำงานของเครื่องโดยมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น
 - AC
หมายถึง : กระแสไฟฟ้าสลับ เป็นอักษรย่อของคำเต็มว่า alternating current

 - access
หมายถึง : เข้าถึง, บอกตำแหน่ง, การอ่านหน่วยความจำ,และทำให้พร้อมที่จะนำมาใช้งาน คำว่า access ใช้กับการเข้าสู่แผ่นดิสก์, แฟ้มข้อมูล, ระเบียนและเครือข่ายต่างๆ

 - accessory
หมายถึง : อุปกรณ์ประกอบเพิ่มเติมสำหรับคอมพิวเตอร์ เช่น โมเด็ม เมาส์ เป็นต้น บางครั้งเรียกว่า อุปกรณ์ประกอบภายนอก (peripheral) อุปกรณ์เหล่านี้จะช่วยทำหน้าที่ต่างๆ ซึ่ง อุปกรณ์เดิมของคอมพิวเตอร์ไม่มีและไม่ได้ทำหน้าที่เหล่านี้

 - active
หมายถึง : เป็นคำ adjective ขยายโปรแกรม , เอกสาร, เครื่อง มือต่างๆ หรือส่วนของหน้าจอภาพที่กำลังปฏิบัติงานอยู่ หมายถึงโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ เอกสารที่กำลังใช้อยู่ หรือเครื่องมือที่กำลังถูกใช้งาน เป็นต้น

 - actvie cell
หมายถึง : ในโปรแกรม spreadsheet เซลล์ซึ่งกำลังถูกใช้ทำกิจกรรม เซลที่กำลังถูกใช้จะมีแถบสว่างขึ้นบนหน้าจอภาพเซลแต่ละเซลจะถูกกำหนดโดย แถว (row) และคอลัมน์ (column) ดูเพิ่มเติม cell , row, column

 - active file
หมายถึง : แฟ้มข้อมูลที่กำลังใช้งาน

 - active program
หมายถึง : โปรแกรมที่กำลังใช้ควบคุมการทำงานของไมโครโพรเซสเซอร์

 - animation
หมายถึง : การสร้างภาพเคลื่อนไหวบนจอภาพ

 - array
หมายถึง : รายการของค่าของข้อมูลในการทำโปรแกรมทุกประเภท

 - asynchronous operation
หมายถึง : การทำงานที่ประสานสัมพันธ์กันในช่วงเวลาที่พอเหมาะพอดี

 - background program
หมายถึง : โปรแกรมซึ่งสามารถทำงานหรือกำลังทำงานอยู่ในส่วนหลัง

 -binary digit
หมายถึง : ตัวเลขในระบบฐาน 2 ได้แก่ เลข 0 และ 1

 - boot
หมายถึง : การเริ่มต้นเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเริ่มต้นเปิดเครื่องใหม่หลังจากปิดไปแล้ว

 - cable connector
หมายถึง : ได้แก่ ตัวต่อที่อยู่ตรงส่วนปลายสายเคเบิลทั้งสองข้าง

 - cassette tape
หมายถึง : เทปแบบตลับ ที่เรามักเรียกว่า เทปคาสเส็ท

 - circuit
หมายถึง : วงจร

 - circuit board
หมายถึง : แผงวงจร

 - control
หมายถึง : การควบคุม การควบคุมคอมพิวเตอร์และการประมวลผลของมัน เพื่อให้มันสามารถทำงานได้สำเร็จที่ต้องการ

 - daisy-wheel printer
หมายถึง : เครื่องพิมพ์ของคอมพิวเตอร์แบบที่ใช้จานพิมพ์แบบดอกเดซี่

 - data bank
หมายถึง : ธนาคารข้อมูล, แหล่งสะสมข้อมูล

 - descender
หมายถึง : ส่วนของตัวอักษรที่อยู่ใต้เส้นฐาน (baseline 



 1.2 คำศัพท์ด้านอินเตอร์เน็ต
 - ADDRESS
แปลตรงตัวหมายถึงที่อยู่ อาจหมายถึงที่อยู่บนอินเตอร์เน็ต หรือ ที่อยู่ของอีเมล์


 - AUTHORING TOOL
เครื่องมือใช้ในการสร้างเอกสารจำพวก HTML เพื่อใช้สำหรับเผยแพร่ใน www


 - BACKBONE
การเชื่อมต่อข้อมูลด้วยความเร็วสูง สามารถเชื่อมต่อกับหลาย ๆ เครือข่าย


- BRIDGE
เป็นอุปกรณ์ตัวหนึ่ง ที่ใช้สำหรับส่งต่อข้อมูลระหว่างสองระบบ หรือเครือข่าย ทำหน้าที่ส่งผ่าน package เท่านั้น



- BROSWER
โปรแกรมสำหรับใช้เล่น internet เวิลด์ ไวด์ เว็บ (www) ได้แก่ Internter Explorer, Netscape, Opera


- CLIENTS
คอมพิวเตอร์ลูกข่าย ที่เข้ามาขอใช้ข้อมูลจาก server ผ่านทางระบบเครือข่าย



- COMPOSE
การแต่ง หรือเขียนจดหมาย Email


- DIAL UP
การติดต่อกับคอมพิวเตอร์ หรือระบบเครือข่าย ผ่านทางสายโทรศัพท์


- DNS
Domain Name Server การแปลงชื่อโฮตของเครือข่ายไปเป็นแอดเดรศ บนระบบเครือข่าย TCP/IP หรือใน internet


- DOWNLOAD
การส่งผ่านข้อมูล เช่น ไฟล์ภาพ, ไฟล์ภาพยนตร์, ไฟล์เสียงเพลง จากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น มายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา


1.3  คำศัพท์เกี่ยวกับเทคโนโลยีต่าง  ๆ หรือ อื่น ๆ
 - 3CCD
ในการถ่ายภาพ/ถ่ายวิดีโอจากกล้องดิจิตอลหรือกล้อง DV จะ ใช้เซนเซอร์ในการรับภาพการที่จะถ่ายภาพ/ถ่ายวิดีโอได้สีสันที่เป็นธรรมชาติ นั้นจะต้องมีฟิลเตอร์ที่เป็นแม่สีของแสงได้แก่ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน วางไว้ที่หน้า CCD ที่เป็นเซนเซอร์รับภาพในกล้องดิจิตอล หรือกล้อง DV ทั่วไป จะมีการวางฟิลเตอร์สลับกัน แต่สำหรับ 3CCD ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่วางฟิลเตอร์ของแม่สีทั้ง 3 ซ้อนกันเหมือนกับการเคลือบชั้นความไวแสงของระบบฟิล์มสีทำให้ในแต่ละพิกเซลของเซนเซอร์รับภาพได้รับข้อมูลของสีครบทั้ง 3 สีซึ่งจะใหความคมชัดสูง สามารถเก็บรายละเอียดได้ดี และมีสีสันอิ่มตัวมีสัญญาณรบกวนต่ำ
  -3D Stereo
เป็นการพัฒนาเสียงเรียก เข้าของโทรศัพท์มือถือให้มีการสั่นตามจังหวะเสียงเพลงรวมถึงมือถือในบางรุ่น ที่มีการเพิ่มไฟกระพริบให้สามารถกระพริบได้ตามจังหวะเสียงเพลงอีกด้วย
 - 3G (Third Generation)
การสื่อสารไร้สายยุคที่ 3 นับจากยุคที่ 1 คือยุคแอนะล็อกและยุคที่ 2 คือยุคดิจิตอล ส่วนยุคที่ 3 คือยุคการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงการพัฒนาของ 3G ทำ ให้เกิดการใช้บริการมัลติมีเดียและส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความ เร็วที่สูงขึ้นโดยอุปกรณ์ที่ใช้นั้นเป็นอุปกรณ์ที่ผสมผสานการนำเสนอข้อมูล และเทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกันเช่น PDA, โทรศัพท์มือถือ , Walkman , กล้องถ่ายรูป , และอินเทอร์เน็ต
 - 3GPP (3rd Generation Partnership Project)
กลุ่มความร่วมมือระหว่างนักพัฒนาระบบมือถือบนโครงข่าย GSM, GPRS, EDGE, WCDMA เป็นหลัก เพื่อกำหนดมาตรฐานกลางในการผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ 3G
 - 3GPP (3rd Generation Partnership Project2)
กลุ่มความร่วมมือระหว่างนักพัฒนาระบบมือถือในรูปแบบเดียวกันกับ 3GPP แต่เน้นที่การกำหนดมาตรฐานกลางให้มือถือเครือข่าย
CDMA2000 และเทคโนโลยีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
 - .3GP (third generation platform)
คือไฟล์ฟอร์มแมตชนิดหนึ่งที่ใช้บนมือถือสำหรับเก็บไฟล์วิดีโอและเสียงโดยฟอร์แมตนี้จะเก็บไฟล์วิดีโอที่มีการเข้ารหัสข้อมูลแบบ
MPEG 4 หรือ H.263 และไฟล์เสียงที่เข้ารหัสข้อมูลแบบ AMR-NB หรือ AAC-LC ค้นหารายละเอียดได้จาก www.3gpp.org
A2DP (Advanced Audio Distribution Profile)
คือ Profile อีกรูปแบบหนึ่งของเทคโนโลยี Bluetooth ที่พัฒนาและออกแบบมาเพื่อส่งข้อมูลเสียงในแบบสเตอริโอ ดังนั้นหากหูฟัง Bluetooth รุ่นใดมีเขียนบอกว่ารองรับ A2DP ก็หมายความว่าหูฟัง Bluetooth นั้น สามารถรองรับการฟังเพลงแบบสเตอริโอ ซึ่งหูฟังวปกติเสียงจะออกมาเป็นเสียงโมโนซึ่งทำให้เสียงเหมือนกันทั้งสอง ข้างไม่มีการแยกเสียงใดๆทำให้มิติอรรถรสในการฟังเพลงหมดไปอย่างชัดเจน (ดูที่Bluetooth)
 - AAC (Advanced Audio Coding)
เป็นรูปแบบการบีบอัดเสียง โดยใช้มาตรฐาน MPEG-2 ถ้าเปรียบเทียบกับ MP3 แล้ว ACC จะให้คุณภาพเสียงที่ดีกว่า และมีขนาดไฟล์
ที่เล็กกว่า MP3 ราว 30 เปอร์เซ็นต์ หรือ ไฟล์เพลงอีกประเภทที่มีระบบเสียงดีขึ้น เพราะอัดข้อมูลเพลงให้วิ่งในอัตรา 96 กิโลบิตต่อวินาทีขณะที่ไฟล์ MP3 อัดที่ 128 กิโลบิตต่อวินาที AAC เป็นไฟล์แบบที่แอปเปิลจำหน่ายผ่านร้านไอจูนส์ (iTunes) โดยมีการผนวกเทคโนโลยี DRM เข้าไปในไฟล์ด้วย แอปเปิลเรียกโปรแกรม DRM ว่า FairPlay มีการกำหนดว่าเพลงที่ซื้อเพลงละ 99 เซ็น และอัลบั้มละ 9.95 ดอลลาร์สามารถเล่นได้บนคอมพิวเตอร์ห้าเครื่อง ที่มี iTunes software และสามารถบันทึกหรือ burned ลงบนซีดีได้เจ็ดครั้ง แต่ถ้าจะเปิดบนเครื่องเล่นเพลงแบบมือถือ ไฟล์แบบ AAC ที่ซื้อมาจากเว็บของแอปเปิลนี้เล่นได้แต่บนเครื่อง iPod เท่านั้นส่วนไฟล์เสียงที่เล่นบนมือถือจากทางโนเกียจะเป็นไฟล์เสียงคนละแบบกับของทางแอปเปิลแม้ว่าจะมีเป็นนามสกุลแบบเดียวกันก็ตาม
 - accessory
อุปกรณ์เสริม, อุปกรณ์ประกอบภายนอกหรืออุปกรณ์เพิ่มเติมสำหรับคอมพิวเตอร์ ซึ่งช่วยทำหน้าที่ต่าง ๆเช่น เม้าส์ โมเด็ม เป็นต้น
account
แอกเคานต์, บัญชีผู้ใช้ซึ่งใช้เก็บข้อมูลประจำตัวของผู้ใช้และเจ้าของบัญชีจะมีสิทธิ์ใช้บริการได้ตามที่กำหนด, บัญชีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตผู้ดูแลเครื่องจะจัดเตรียมบัญชีให้กับผู้ใช้ระบบ ซึ่งประกอบด้วยชื่อบัญชี (user name) รหัสผ่าน (password) และเนื้อที่ดิสก์สำหรับใช้เป็นที่เก็บข้อมูล
 - Acrobat
ฟอร์แมตของเอกสารรูปแบบหนึ่งของบริษัท Adobe เอกสารฟอร์แมตอะโครแบทนี้นิยมใช้ในระบบ WWW แฟ้มที่เก็บในฟอร์แมตนี้จะมีนามสกุล . pdf ผู้ใช้โปรแกรมเบราเซอร์สามารถอ่านเอกสารแบบอะโครแบทได้ด้วยโปรแกรม Adobe Acrobat (ดูที่Adobe Acrobat Reader)
 - active matrix
จอแสดงผลแบบ LCD ของเครื่องคอมพิวเตอร์แบบวางตัก ที่ใช้ได้ดีกว่า และแพงกว่าแบบ passive matrix จอแสดง ผลแบบนี้มีทรานซิสเตอร์แยกไปควบคุมจุดต่าง ๆบนจอภาพเพื่อให้มีคุณสมบัติดังนี้คือ มีสีตัดกันอย่างเด่นชัด มองภาพในมุมกว้างได้มีสีชัดเจน เป็นจอภาพที่มีอัตราการแสดงผลซ้ำได้เร็ว และไม่แสดงผลเป็นเส้น ๆหรือเงาที่มักเป็นกันในจอภาพที่ใช้เทคโนโลยี LCD ราคาถูก คำนี้มักใช้คำว่า active matrix screen (ดูที่passive matrix)
 - Active Server Page
ใช้คำย่อว่า ASP, เว็บเพจที่บรรจุโค้ดโปรแกรมซึ่งเขียนด้วย VBScript หรือ Jscript พัฒนาโดยไมโครซอฟท์, เป็นสคริปต์ที่ทำงานอยู่บนเซิร์ฟเวอร์, ASP นั้นมีหัวใจอยู่ที่ออบเจ็กต์ หรือคอมโพเนนต์ ซึ่งมีทั้งออบเจ็กต์มาตรฐานของ IIS (Internet Information Server) ปัจจุบันเริ่มมีการใช้ ASP แทน CGI เพิ่มขึ้น
 - active window
ช่องหน้าต่างใช้งาน, ในระบบปฎิบัติการหรือโปรแกรมอื่นๆที่แสดงช่องหน้าต่างบนจอภาพได้หลายๆ ช่องพร้อมกันมีช่องหน้าต่างบนจอภาพที่ใช้งานอยู่ขณะนั้นคือ
add-on program
โปรแกรมที่ทำงานร่วมหรือช่วยเพิ่มความสามารถให้กับโปรแกรมอื่น
 - address
แอดเดรส, ตำแหน่งที่อยู่, การอ้างหรือจัดการกับตำแหน่งต่าง ๆ บนอุปกรณ์เก็บข้อมูล, ตำแหน่ง ในหน่วยความจำหรือดิสก์ซึ่งมีข้อมูลเก็บอยู่โดยที่หน่วยความจำจะมีตำแหน่ง กำกับทุกไบต์ขณะที่บนดิสก์จะมีตำแหน่งกับกับทุกเซกเตอร์
 - Address Book
ไฟล์ที่เก็บรวบรวมรายชื่ออีเมล์แอดเดรสของผู้ที่คุณติดต่ออยู่เสมอ สามารถเพิ่มรายชื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขชื่อหรืออีเมล์แอดเดรสใน Address Book ได้ ปัจจุบันมีโปรแกรมอีเมล์หลายตัวที่มีคุณลักษณะนี้บางโปรแกรมเมื่อคุณพิมพ์ ชื่อผู้รับลงในอีเมล์ฉบับใหม่มันสามารถที่จะปรากฏชื่อและใส่อีเมล์แอดเดรส ให้คุณได้ทันที เช่น Outlook Express
 - admin
ย่อมาจาก administrator, ผู้ดูแลเครือข่าย, ชื่อบัญชีสำหรับผู้ปฏิบัติงาน เป็นผู้ดูแลเครื่อง (system administrator)
Adobe Acrobat Reader
ผลิตโดยบริษัท Adobe System เป็นโปรแกรมที่มีเครื่องสำหรับการสร้างและเปิดดูเอกสาร ซึ่งเอกสารที่สร้างจาก Acrobat จะอยู่ในรูปแบบไฟล์ PDF (Portable Document Format) เอกสารที่อยู่ในฟอร์แมตนี้ สามารถเปิดอ่านได้จากคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งโปรแกรม Acrobat Reader โดย ที่เนื้อหา รูปแบบ ตัวอักษร และภาพจะเหมือนกับต้นฉบับสามารถส่งผ่านอีเมล์หรือนำเสนอข้อมูลบนเว็บเพจได้ เช่นเดียวกับเอกสารทั่วๆ ไปทั้งบนระบบปฎิบัติการวินโดว์ แมคอินทอช และยูนิกซ์

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แบบทดสอบที่ 1

1. บิดาแห่งคอมพิวเตอร์คือใครและจงบอกผลงานที่ทำให้ได้รับการยกย่อง ?

= ชาลส์ แบบเบจ (Charles Babbage) ได้ทำการออกแบบเครื่อง Difference Engine โดยได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาล แต่เครื่อง Difference Engine นี้สร้างไม่เสร็จ เพราะแบบเบจได้ค้นพบความไม่น่าเชื่อถือบางประการในการคำนวณ จึงล้มเลิก และไปคิดเครื่องใหม่ที่ชื่อว่า Analytical Engine ซึ่งประกอบด้วยหน่วยความจำ (Memory Unit) ที่สามารถจัดเก็บตัวเลขและนำไปคำนวณได้ ยิ่งไปกว่านั้น เครื่องดังกล่าวยังสามารถพิมพ์ข้อมูลได้อัตโนมัติ สามารถนำเข้าข้อมูลด้วยบัตรเจาะรู (Punched Cards) และใช้ชุดคำสั่งในการควบคุม เครื่อง Analytical Engine นี้ยังมีฟังก์ชั่นหน้าที่หลายอย่างเช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบัน ทำให้ ชาลส์ แบบเบจ (Charles Babbage) ถูกขนานนามให้เป็นบิดาแห่งคอมพิวเตอร์ เป็นต้นมา

2.    จงเรียงลำดับเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับประวัติคอมพิวเตอร์ต่อไปนี้ จากแรกสุดไปหลังสุด
....2.....) Slide Rule                                                ....6.....) UNIVAC
....1.....) Abacus                                                       ....5.....) MARK I  
.....3....)
Difference Engine                                   ....4.....) ABC Computer

3. จงอธิบายที่มาของเครื่องคำนวณเครื่องแรกที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ ?

= จอห์น ดับลิว มอชลีย์ (John W. Mauchly) และ เจ เพรสเพอร์ เอคเกิรต (J. Prespern Eckert) ได้รับทุนอุดหนุนจากกองทัพสหรัฐอเมริกา ในการสร้างเครื่องคำนวณ '' ENIAC '' เมื่อปี 1946 นับว่าเป็น "เครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกของโลก หรือคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลก" ENIAC เป็นคำย่อของ Electronics Numerical Integrator and Computer เป็นเครื่องคำนวณที่มีจุดประสงค์เพื่อใช้งานในกองทัพ โดยใช้คำนวณตารางการยิงปืนใหญ่ วิถีกระสุนปืนใหญ่่ 

4. โปรแกรมเมอร์คนแรกคือใคร ?
สุภาพสตรีชาวอังกฤษชื่อ Lady Augusta Ada Byron

5. คอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่สามารถเก็บโปรแกรมไว้ในเครื่องได้ คือ ?

= [ พ.ศ.2492 ] ดร.จอห์น ฟอน นิวแมนน์ ( Dr.John Von Neumann ) ได้สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถเก็บคำสั่งการปฏิบัติงานทั้งหมดไว้ภาย ในเครื่อง ชื่อว่า EDVAC นับเป็นคอมพิวเตอร์เครี่องแรกที่สามารถเก็บโปรแกรม ไว้ในเครื่องได้

6. เครื่องประิดิษฐ์ที่ชื่อว่า '' Difference Engine '' สร้างขึ้นเพื่อประโยชน์อะไร ?

= Difference Engine นี่ก็ คือ เครื่องคิดเลขแบบกลไกอย่างนึง และ เพื่อจะเป็นต้นแบบให้กับสิ่งต่อๆไป

7. เครื่องคอมพิวเครื่องคอมพิวเตอร์ใดที่เป็นเครื่องต้นแบบของปัจจุบัน ? 

= Analytical Engine ซึ่งเป็น เครื่องต้นแบบของคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันนี้